Aconnect ย้ำเตือน! อย่าหลงเชื่อการทำธุรกรรมในรูปแบบการโทรและ SMS
อัปเดตล่าสุด : 12/07/2024

ในปัจจุบันมิจฉาชีพแสวงหาช่องทางหลาย ๆ รูปแบบ เพื่อที่จะหลอกลวงให้เหยื่อทำธุรกรรมทางการเงิน โดยที่ไม่ทันระวังตัว

ในปัจจุบันมิจฉาชีพแสวงหาช่องทางหลาย ๆ รูปแบบ เพื่อที่จะหลอกลวงให้เหยื่อทำธุรกรรมทางการเงิน โดยที่ไม่ทันระวังตัว เนื่องจากมิจฉาชีพเหล่านี้จะปลอมตัวเป็นเจ้าหน้าที่คอลเซ็นเตอร์ของบริษัท หน่วยงานหรือธนาคารต่าง ๆ ทำให้ประชาชนหลงเชื่อได้ง่าย ซึ่งมีเป้าหมายลวงถามข้อมูลส่วนตัว การเงิน รวมไปถึงการรับพัสดุผ่านไปรษณีย์และบริษัทเอกชน

            โดยในขณะนี้มิจฉาชีพได้นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างการใช้โทรศัพท์มือถือที่เป็นระบบตอบรับอัตโนมัติสุ่มโทรไปยังประชาชนทั่วไป โดยการแอบอ้างเป็นคอลเซ็นเตอร์ของธนาคาร ถ้าหากสุ่มไปแล้วไม่ตรงกับที่มิจฉาชีพแอบอ้างก็ถือเป็นเรื่องดี แต่ถ้าสุ่มไปแล้วประชาชนคนนั้นหลงเชื่ออาจทำให้สูญเสียทรัพย์สินจากคำหลอกลวง และการสร้างเรื่องที่ทำให้ตกใจนั้นได้ง่าย ๆ อย่างไรก็ตามเหตุการณ์แบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้นวันนี้เราจะมาดูกันว่าข้อความหรือคำพูดลักษณะใดบ้างที่เข้าข่ายหลอกลวง

  • ข้อความหรือคำพูดที่แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร เจ้าหน้าที่กรมสรรพากร เจ้าหน้าที่ศาลและเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ เป็นต้น หากมีการโทรมาในลักษณะดังกล่าวอย่าหลงเชื่อบอกข้อมูลส่วนตัวหรือทำธุรกรรมทางการเงินเด็ดขาด
  • ข้อความหรือคำพูดที่สร้างความตกใจ เช่นมีพัสดุถึงคุณ ก. แต่จะรับพัสดุได้ต้องทำการโอนเงินก่อนบริษัท A ถึงจะดำเนินการส่งพัสดุ โดยต้องทำการชำระออนไลน์เท่านั้น เป็นต้น ซึ่งการกระทำลักษณะนี้ไม่ใช่สิ่งที่บริษัทหรือหน่วยงานดำเนินการกัน เพราะส่วนใหญ่หากมีการชำระเพิ่มเติมผู้รับต้องมารับพัสดุนั้นด้วยตนเองที่สำนักงาน
  • ข้อความหรือคำพูดสร้างความคาดหวังและดีใจ ด้วยการเป็นผู้โชคดีได้รับรางวัล เช่นคุณ ก. ได้รับเงินคืนจำนวน 3,000 บาทจากการสุ่มผู้โชคดี เงื่อนไขการรับเงินคืนคือต้องบอกเลขประจำตัวประชาชนและข้อมูลอื่น ๆ เป็นต้น จากตัวอย่างอย่าหลงเชื่อบอกข้อมูลส่วนตัวของตนเองเด็ดขาด

         จากที่กล่าวไปข้างต้น หากมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นให้ตั้งสติและสอบถามกับทางบริษัท หน่วยงาน และธนาคารโดยตรง

 

วันที่ 2018-08-09